วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565

 "สมโภชน์" เดินเกม "พลังงานบริสุทธิ์" สู่ "ผู้นำ" เทคโนโลยีพลังงานสะอาด
By ดาริน โชสูงเนิน31 ม.ค. 2565 เวลา 7:00 น.76


เมื่อ “สมโภชน์ อาหุนัย” เจ้าของ "พลังงานบริสุทธิ์" มีความเชื่อที่ว่าสุดท้ายโลกก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดเป็นหลัก ดังนั้น เดินหน้าสร้างประวัติศาสตร์ใหม่อีกครั้ง! ด้วยการต่อยอดมุ่งสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ นั่นคือ “แบตเตอรี่” และ “ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า”

หนึ่งในบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหุ้นไทยที่เป็น “ผู้นำ” ด้านพลังงานสะอาดในนั้นต้องมีชื่อของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ของ “สมโภชน์ อาหุนัย” ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร EA ที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน “แสงแดดและสายลม” เมื่อ 15 ปีก่อน จากความเชื่อที่ว่าสุดท้ายโลกก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมพลังงาน (Energy Transition) ด้วยพลังงานสะอาดเป็นหลัก ดังนั้น EA กำลังก้าวเปลี่ยนจากยุคบริษัทที่เน้นการผลิตกลายเป็นการผลิตเชิงยุทธศาสตร์ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้

และ EA กำลังจะทำประวัติศาสตร์หน้าใหม่อีกครั้ง! ด้วยการต่อยอดธุรกิจพลังงานสะอาดมุ่งสู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ นั่นคือ เทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) หรือ “แบตเตอรี่” และในเทคโนโลยีอนาคตอย่าง “ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า” (อีวี) อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์อีวีที่เป็นนวัตกรรมและแบรนด์สัญชาติไทยรายแรก

หากย้อนกลับไป บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ (EA) เกิดจากการเข้าซื้อกิจการบริษัท ซันเทคปาล์มออยล์ จำกัด ที่ทำธุรกิจโรงงานผลิตไบโอดีเซล แล้วเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เมื่อปี 2556 จากธุรกิจผลิตไบโอดีเซล (โรงงาน B100) และปัจจุบัน EA มีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งหมด 4 โครงการ รวมกำลังผลิต 278 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม 8 โครงการ รวมกำลังผลิต 386 เมกะวัตต์

ก่อนจะมุ่งสู่เทคโนโลยีแห่งอนาคต “สมโภชน์” บอกว่า ได้นำความรู้และประสบการณ์หลังเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรม และปริญญาโทด้านการเงิน และเริ่มต้นการเป็นมนุษย์เงินเดือน ในตำแหน่งนักวิเคราะห์ในบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซึ่งตอนนั้นเป็นคนวิเคราะห์ให้กับ “นักลงทุน” ฟังเพื่อนำข้อมูลไปลงทุน

แต่มาในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์เทรนด์ของธุรกิจในอนาคตเพื่อนำเงินตัวเองมาลงทุน ซึ่งใช้เวลาวิเคราะห์และคิดค้นล่วงหน้าก่อนตัดสินใจไม่น้อยกว่า 4-5 ปี! ในการมองหาการลงทุน “ธุรกิจใหม่” (new S-curve) หลังพบว่า ธุรกิจพลังงานทดแทน เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เวลาไม่มีแดด โซลาร์เซลล์ ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้า เวลาไม่มีลม กังหันลม ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้าเช่นกัน ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่ธรรมชาติกำหนดและเป็นสิ่งที่เหนือการควบคุมอีกด้วย



ดังนั้น “แบตเตอรี่ ลิเทียมไอออน” คือคำตอบของธุรกิจอนาคต ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด โดยในส่วนของแบตเตอรี่ที่จะใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยบริษัทมีความร่วมมือกับพันธมิตรจากไต้หวัน คือบริษัท AMITA Technologies Inc. ผ่านโครงการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ดำเนินการภายใต้บริษัทย่อย คือบริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (ATT) ระยะที่ 1 ขนาด กำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ต่อปี ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

อย่างไรก็ตาม มองว่าทิศทางสำคัญของประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการ คือ รัฐต้องสนับสนุนลงทุนในอุตสาหกรรมอีวีที่สอดคล้องกับเทรนด์และกระแสของโลกที่มุ่งเน้นไปในเรื่องพลังงานสะอาด เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยแยกออกเป็น 2 ตลาดใหญ่ คือ ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล และตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์

โดยในส่วนของบริษัทจะมุ่งเน้นเจาะตลาด “รถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์” เป็นหลัก เนื่องจากมองว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงในอนาคต ทั้งตลาดในประเทศและตลาดระดับภูมิภาค โดยคาดว่าตลาดรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นเร็วกว่าตลาดรถยนต์ส่วนบุคคล เนื่องจากมองในเรื่องของความคุ้มค่าและช่วยประหยัดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้มากกว่ารถน้ำมันที่ปัจจุบันราคาน้ำมันแพงมาก รวมถึงมองหาโอกาสที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะอื่นๆ ที่ใช้ไฟฟ้าทั้ง รถบัสรถบรรทุก รวมทั้งเรือไฟฟ้า ซึ่งมองไปถึงการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายในอนาคต

สำหรับ “รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล” มองว่าขึ้นอยู่กระแสสังคม ความรู้สึก และเรื่องของราคา ซึ่งเทรนด์รถยนต์อีวีตอนนี้เริ่มมาให้เห็นแล้ว ดังนั้น คาดว่าไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า น่าจะเริ่มเห็นรถอีวีวิ่งบนท้องถนนมากขึ้น จากระดับพันคันขึ้นไปเป็นแสนคัน ประกอบกับเมืองไทย อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเกิดได้แน่นอน เนื่องจากมีปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานรองรับพร้อม

ความต้องการใช้รถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคตมีดีมานต์เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้แบตเตอรี่ที่มีคุณภาพสูง โดยเป้าหมายที่จะมีการผลิตรถอีวี เพิ่มอีก 1.3 ล้านคัน ในประเทศต้องการแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นถึง 260 GWh หากคิดถึงความต้องการใช้ทั่วทั้งอาเซียนในอนาคตการใช้จะมีอีกมาก ซึ่งเป็นโอกาสที่ธุรกิจจะเติบโตต่อไปได้”

นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นรายแรกๆ ที่มีการลงทุนใน “สถานีชาร์จไฟฟ้า” (EA Anywhere) จำนวน 1,000 สถานี ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น 400 สถานีนอกปริมณฑล และ 600 สถานี ในกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทั้งการออกแบบและพัฒนาเรือพลังงานไฟฟ้าผลงานคนไทย สะอาดปราศจากมลพิษ เชื่อมต่อพลังงานทั้งทางบกและทางน้ำ เป็น Smart Transport แบบครบวงจร

ทั้งนี้ มองว่าตลาดอุตสาหกรรมรถอีวี ของแต่ละประเทศมีความพร้อมไม่เท่ากัน แต่สำหรับเมืองไทยมีความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) อย่าง 1.“อุตสาหกรรมพื้นฐาน” ไทยมีฐานอุตสาหกรรมรถยนต์มาก ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนรถไฟฟ้าซึ่งขาดเพียงแบตเตอรี่ ดังนั้น ไทยพร้อมที่จะเปลี่ยน 2.“ผู้ซื้อ” เมืองไทยหากเทียบกับอาเซียน ถือว่ามีรายได้ต่อหัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งคนไทยมีอำนาจในการซื้อ 3. “ปริมาณไฟฟ้า” เมืองไทยมีไฟฟ้าเพียงพอ กำลังผลิตไฟฟ้าเมืองไทยราว 50,000 เมกะวัตต์ เทียบช่วงที่ไทยใช้ไฟฟ้าสูงสุด (เม.ย.) มีปริมาณใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 30,000 เมกะวัตต์ ซึ่งยังเหลืออีก 20,000 เมกะวัตต์ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่กำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ

ดังนั้นภาพใหญ่ของไทยมีความพร้อมในการก้าวไปในอุตสาหกรรมรถอีวี หากเราไม่เดินภายใน 3-5 ปี ประเทศที่ตอนนี้ไม่พร้อมก็จะพร้อม และเมื่อประเทศเหล่านั้นมีความพร้อม และไทยยังไม่เดินอุตสาหกรรมที่เราบอกว่าเป็นของไทยก็จะย้ายฐานไปอยู่ประเทศอื่นๆ แทน”

ท้ายสุด “สมโภชน์” มองว่าหากอีโคซิสเตม (Ecosystem) ครบวงจร จะทำให้อุตสาหกรรมรถอีวีเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ถ้าหากโครงสร้างพื้นฐานพร้อมคนก็พร้อมที่จะใช้งานเมื่อนั้นอุตสาหกรรมรถอีวีก็จะเติบโต

แหล่งที่มาของข่าว : "สมโภชน์" เดินเกม "พลังงานบริสุทธิ์" สู่ "ผู้นำ" เทคโนโลยีพลังงานสะอาด (bangkokbiznews.com)

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

 



หนุนพลังงานสะอาด! ‘ปตท.’ เปิดสถานีบริการ NGV สาขากำแพงเพชร 2 รูปแบบใหม่

วันอังคาร ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565, 06.00 น.

พลังงาน ปตท PTT

เป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษนับตั้งแต่ปี 2521 ที่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้น กระทั่งเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง ปตท.” ยังคงมุ่งมั่นรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย ขณะเดียวกันยังมองภาพอนาคตที่ยั่งยืน จึงส่งเสริมการใช้ พลังงานสะอาด” เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) จนถึงการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV)

ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ปตท. ได้เปิดตัวสถานีบริการ NGV สาขากำแพงเพชร 2 รูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นสถานีนำร่องที่ให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ในสถานีบริการ NGV อีกทั้งยังเต็มไปด้วยสินค้าและบริการหลากหลายจากพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้พื้นที่ภายในสถานีบริการในรูปแบบ Mixed Use ที่นอกจากจะรองรับการเติบโตของการใช้พลังงานสะอาดและยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังร่วมสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้รับบริการในสถานี NGV



อาทิ “EV Charging Station” ปตท. ขยายตลาดร่วมกับโออาร์ในการให้บริการชาร์จไฟแก่รถยนต์ไฟฟ้าในสถานีบริการ NGV ปตท. โดยให้บริการหัวชาร์จสำหรับไฟฟ้ากระแสตรง DC ชนิด Combine Charging System หรือ CCS Type 2 ซึ่งใช้กับรถ EV ในยุโรป “Swap & Go” ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มการสลับแบตเตอรี่แก่ผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าโดยไม่ต้องรอชาร์จ เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต และช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคพลังงานแห่งอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม



กะทิสดสเตชั่น” ไอศกรีมกะทิสด ที่ผลิตจากกะทิสดแท้คุณภาพสูงจากชุมชนและเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวทับสะแก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไทย จำหน่ายในสถานีบริการ NGV ของ ปตท. ทั้งรูปแบบนั่งทานในร้าน หรือ Take Away , “iPost” เป็นการให้บริการรับฝากพัสดุผ่านตู้อัตโนมัติ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ปตท. และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องเวลาและสาขาของการให้บริการของไปรษณีย์ไทย ตอบโจทย์การขยายตัวของตลาด E-Commerce เปิดให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ,

“Godiator” บริษัทสตาร์ทอัพ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ Cloud Kitchen ประเภทอาหารว่างและเครื่องดื่ม โดยรวบรวมร้านค้าต่างๆ มาอยู่ในที่เดียวเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคและ Delivery Platform ในการรับสินค้าในพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง “Vending Café” ตู้จำหน่ายขนมและเครื่องดื่มอัตโนมัติ 24 ชั่วโมงเพื่อตอบโจทย์เรื่องความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า และลดข้อจำกัดในการเปิดสาขาในรูปแบบปกติทั้งเรื่องพื้นที่และระยะเวลาในการก่อสร้าง

รวมถึง “Café Amazon” แบรนด์ร้านกาแฟที่คุ้นเคยคู่สถานีบริการเชื้อเพลิงของ ปตท. ทั้งนี้ สถานีบริการ NGV สาขากำแพงเพชร 2 รูปแบบใหม่ ยังมีโครงการ “EV Solar Rooftop” ที่ ปตท. ศึกษาผลประหยัดค่าไฟฟ้าภายในสถานีบริการ ด้วยการติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาเกาะจ่าย และหลังคาอาคารธุรกิจเสริมทั้งหมด เพื่อเป็นสถานีต้นแบบสถานีประหยัดไฟด้วย



นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า ปตท. ยึดมั่นในการสนับสนุนพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและอนาคตตามวิสัยทัศน์ Powering Life with Future Energy and Beyond และยังมองไปถึงการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานไปที่พลังงานไฟฟ้า ที่เป็นพลังงานสะอาดและจะมีบทบาทกับภาคขนส่งมากขึ้น จึงมีแนวคิดในการปรับรูปแบบธุรกิจการให้บริการสถานี NGV เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้รถ EV

โดยผนึกกำลังภายในกลุ่ม ปตท. ร่วมกับ โออาร์ เพิ่ม EV Charging Station ในสถานีบริการให้ครบวงจร นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัย มีร้านค้าและบริการที่นำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวก พร้อมที่จะ Connect กับผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ตอบโจทย์ความต้องการชีวิตในยุคดิจิทัล เป็นการตอกย้ำว่า ปตท. สนับสนุนพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีความพร้อมในการต่อยอดธุรกิจด้านอื่นๆ นอกเหนือจากพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างครอบคลุมในทุกมิติ

น.ส.จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ “โออาร์” บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โออาร์ ในฐานะบริษัท Flagship ของ กลุ่ม ปตท. ซึ่งมีพันธกิจในการขับเคลื่อนธุรกิจด้าน Mobility และ Lifestyle มุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในด้านการเดินทางและการใช้ชีวิตของผู้คน โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาเป็นรถ EV ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ด้วยการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station Pluz ทั้งในและนอกสถานีบริการ PTT Station

ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายสถานีชาร์จไฟฟ้านอกสถานีบริการน้ำมัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยสถานีบริการ NGV แห่งนี้ ติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้าในรูปแบบ Quick Charge จำนวน 2 เครื่อง มีแอปพลิเคชั่น “EV Station PluZ” อำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคทั้งในด้านการค้นหาและนำทางมายังสถานีชาร์จไฟฟ้า การจองช่วงเวลาชาร์จ ชำระเงิน และตรวจสอบประวัติการใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมด้วย Call Center บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง

นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. กล่าวว่า กระแสการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ โดยสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จึงเล็งเห็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจให้บริการ EV Station Pluz ในสถานีบริการ NGV ร่วมกับการจับมือกับพันธมิตรที่มีศักยภาพ เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่อำนวยความสะดวก ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น



โดยได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มอย่าง โออาร์ ในการพัฒนาธุรกิจให้บริการ EV Charging Station ในรูปแบบ Self-service ซึ่งมีแผนจะขยายจุดให้บริการ ภายในสถานีบริการ NGV อีก 9 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ และได้ติดตั้งตู้สวอพแบตเตอรี่แบบไม่ต้องรอชาร์จของ Swap & Go ซึ่งเพิ่มความสะดวกและช่วยรองรับการขยายตัวของผู้ใช้งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในอนาคต รวมทั้งยังมีสินค้าและบริการด้านไลฟ์สไตล์ อาทิ ไอศกรีมกะทิสดสเตชั่น Vending Café หรือตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ร้านคาเฟ่อเมซอน ฯลฯ

นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรอื่นๆ อาทิ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ในการให้บริการตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ และบริษัท Godiator ในการเปิดให้บริการครัวกลางหรือ Cloud kitchen ซึ่งจะรองรับการขยายตัวของตลาดอาหารเดลิเวอรีได้เป็นอย่างดี  อีกทั้งยังศึกษาการประหยัดค่าไฟฟ้า ด้วยการติดตั้ง Solar Rooftop บนหลังคาเกาะจ่าย และหลังคาอาคารธุรกิจเสริมทั้งหมด โดยเรามุ่งหวังให้สถานีบริการ NGV แห่งนี้เป็นสถานีแบบ Mixed Used ต้นแบบ และต่อยอดไปยังสถานีบริการ NGV แห่งอื่นๆ ต่อไป

ขอขอบคุณแหล่งที่มาข่าว โลกธุรกิจ - หนุนพลังงานสะอาด! ‘ปตท.’ เปิดสถานีบริการ NGV สาขากำแพงเพชร 2 รูปแบบใหม่ (naewna.com)



ขอขอบคุณแหล่งที่มาข่าว : เพจเล่าเปลวไฟให้เป็นเรื่อง



 


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ฯ

โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินของ อผศ.

1. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน โรงพยาบาลทหารผ่านศึก ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง แขวงลำปลาทิว  เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์




2. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน สำนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์


3. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงานสำนักงานกิจการโรงงานในอารักษ์ ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์



4. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน สำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บี.กริม โซลาร์ เพาเวอร์ 1 จำกัด ที่ตั้ง แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์


5. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตชลบุรี ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง ตำบลคลองหลวงแพ่ง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กำลังการผลิต 3.58 เมกะวัตต์




6. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตลพบุรี ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์


7. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตสุพรรณบุรี ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ที่ตั้ง ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี กำลังการผลิต 3.94 เมกะวัตต์


8. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงานสำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเขตราชบุรี ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท เสริมสร้าง โซลาร์ จำกัด ที่ตั้ง ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์



9. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน ศูนย์ฝึกอบรมและนันทนาการ จังหวัดกาญจนบุรี ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท เข็มเหล็ก จำกัด ที่ตั้ง ตำบลหนองนกแก้ว อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์


10. โรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก โดยส่วนงาน สำนักงานกิจการพลังงาน ผู้ร่วมลงทุนโครงการ บริษัท อิเลคตริก้า เอเชีย เพาเวอร์ จำกัด ที่ตั้ง แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร กำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์